วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ประโยชน์ของศาสตร์พระราชาเรื่อง โครงการสวนจิตรลดา

กลุ่มของข้าพเจ้าได้ศึกษาในศาสตร์พระราชาในเรื่อง โครงการสวนจิตรลดา ได้รับประโยชน์ดังนี้
1.เราสามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
2.ได้รู้ประวัติความเป็นมาของโครงการสวนจิตรลดา
3.ได้ทราบที่มาของแต่ละโครงการ
ความรู้สึกของสมาชิกในกลุ่มหลังจากได้ศึกษา ศาสตร์พระราชา โครงการสวนจิตรลดา มีดังนี้
                       สมาชิกคนที่ 1 ด.ญ.กัลยกร หาญกิจจานุรักษ์ มีความเห็นว่า  เป็นโครงการที่คิดค้นขึ้นมา  เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่กำลังลำบากให้มีเศรษฐกิจและการดำรงชีวิตให้ดียิ่งขึ้นอย่าง  เช่น มีการนำผลผลิตมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นแบบอย่างในการประกอบอาชีพ และยังเป็นตัวอย่างในการหาวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆให้แก่ประชาชนอีกด้วย
และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ดังนี้ 1.นำผลผลิตมาแปรรูปเพื่อเพิ่มรายได้
                                                          2.สามารถนำไปเป็นแบบอย่างในการประกอบอาชีพ
                      สมาชิกคนที่ 2 ด.ญ.ชลิตา กิจสำราญ มีความเห็นว่า  โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรดาสวนจิตรดาเป็นโครงการที่ดีอีกโครงการหนึ่งที่ช่วยเกษตรกร  ชาวไร่  ชาวสวนต่างๆ ให้มีชีวิตที่ดีขึ้น  นำผลผลิตมาเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค และนำสินค้าที่ล้นตลาดมาทำเป็นสินค้าแปรรูปต่างๆมากมาย อาทิเช่น นมอัดเม็ดจิตรดา และอีกมากมาย ทำให้สร้างรายได้ให้เกษตรกรได้ในส่วนหนึ่ง
และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ดังนี้  1.นำความรู้ที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น
                                                                        2.การศึกษาความรู้นอกตำราเรียน
                      สมาชิกคนที่ 3 ด.ญ.ปัณณภัสร์ ธนะสมบัติรัตน์ มีความเห็นว่า โครงการสวนจิตรลดาเป็นโครงการที่น่าสนใจทำให้เราได้รู้ว่าโครงการไหนมีมาตอนไหนแล้วโครงการนี้มีอะไรบ้าง       สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรและถือเป็นความรู้ใหม่ๆนอกจากที่เราได้ศึกษา มาและเป็นโครงการที่เราได้ช่วยเหลือผู้อื่น
และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ดังนี้ 1.ใช้ในการนำสิ่งของมาประยุกต์ใช้
                                                                        2.เป็นการเรียนรู้ใหม่ๆได้
                   

วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2560

โรงงานแปรรูปสาหร่ายเกลียวทอง

       

ขอบคุณรูปภาพจาก http://farm9.staticflickr.com/8104/8579199383_1d865d4baa.jpg?w=240
         ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ งานวิจัยและพัฒนาโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ได้นำน้ำกากมูลหมักซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตแก๊สชีวภาพมาใช้เลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง และนำไปใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารปลาเพื่อเพิ่มสีสันให้ปลาสวยงาม ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๔o
ได้ทำการเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทองในน้ำสะอาด เพื่อ้ป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับบริโภค
              ขอบคุณข้อมูลจากhttps://web.ku.ac.th/king72/2541-2/proj1.html

โรงเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช



                ขอบคุณรูปภาพจาก  https://web.ku.ac.th/king72/2542-02/king_1.jpg
             การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นวิทยาการสมัยใหม่เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาพันธุ์พืชเอกลักษณ์ที่หยาก มิให้สูญพันธุ์และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นการนำเอาเซลล์หรือเนื้อเยื่อหรือวัยวะบางส่วนของพืช เช่น ยอด ใบ ลำต้น ราก ส่วนต่าง ๆ ของดอกหรือผล มาเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ในสถานที่ปลอดเชื้อ ทำให้ขยายพันธุ์พืชได้ปริมาณมากหรือรวดเร็ว ไม่กลายพันธุ์โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้เริ่มโครงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยทำการวิจัยและพัฒนาร่วมกับภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้รับทุนอุดหนุนจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ พืชเป้าหมายในระยะแรกของโครงการคือสมอไทย (Terminalia chebula) ซึ่งปลูกไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ และมีอายุกว่าร้อยปี ในบริเวณพระที่นั่งอัมพรสถาน ขนุนพันธุ์ดี (Artocarpus heterophyllus) ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งมีอายุกว่า ๒๐๐ ปี

พุดสวน (Ervatamia coronaria) ในพระบรมมหาราชวัง  ยี่หุบ (Magnolia coco) ในพระบรมมหาราชวัง
                     ขอบคุณข้อมูลจาก https://web.ku.ac.th/king72/2541-2/proj4_7.html

โรงผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง

                                 Preload
                           ขอบคุณรูปภาพจาก https://spiceee.net/th/articles/6417
                    อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ดีๆ ที่ช่วยเหลือเกษตรกรไทยแล้วยังส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่พสกนิกรชาวไทยอีกด้วย นั่นคือ "น้ำผึ้งสวนจิตรลดา" นั่นเอง ความเป็นมาของโครงการน้ำผึ้งสวนจิตรลดา ก็เหมือนกับโครงการส่วนพระองค์อื่นๆ คือช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งทางภาคเหนือ โดยการรับซื้อน้ำผึ้งที่ดีมีคุณภาพ นำมาผ่านกระบวนการผลิตอาหารตามมาตรฐานสากล แยกบรรจุในหลอด ขวด และแกลลอนพลาสติก เพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชนในการบริโภค และนำส่งร้านค้าเพื่อจำหน่ายทั่วประเทศต่อไป                                                                         
                             ขอบคุณข้อมูลจากhttps://www.sanook.com/health/5165/

ศูนย์รวมนมสวนจิตรลดา

            

                       ขอบคุณรูปภาพจากhttps://travel.mthai.com/app/uploads/2016/10/11.jpg
            ศูนย์รวมนม สวนจิตรลดา ได้เริ่มโครงการเมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๒ จัดตั้งขึ้นเพื่อนำรายได้ไปช่วยสนับสนุนการดำเนินกิจการของโรงนมผงสวนดุสิตซึ่งขณะนั้นอยู่ในภาวะขาดทุน โดยรับนมดิบจากสหกรณ์โคนมหนองโพและโรงโคนมสวนจิตรลดา เพื่อนำมาผลิตนมพาสเจอร์ไรส์-โฮโมจิไนส์ จำหน่ายให้กับสมาชิกและโรงเรียน เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพพลานามัยแก่เยาวชน ได้ทำการผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ ๒ แบบ คือแบบบรรจุถุง และแบบบรรจุขวด
                                                                ขอบคุณข้อมูลจากhttps://web.ku.ac.th/nk40/nk/data/27/

โรงนมผงสวนดุสิต


                              ขอบคุณรูปภาพจากhttps://www.taokaemai.com/wp-content/uploads/2016/11/My-Love-King3.jpg

      การตั้งโรงนมผงสวนดุสิต เกิดขึ้นเนื่องจากภาวะนมสดล้นตลาดเมื่อปี พ.ศ. 2512 โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงทราบถึงความเดือดร้อนของผู้เลี้ยงโคนม ที่ไม่สามารถจำหน่ายนมสดที่ผลิตได้ มีนมสดเหลืออยู่มากเกินความต้องการของตลาด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการช่วยเหลือ โดยพระราชทานเงินทดรองจ่าย รวมกับรายได้จากการจำหน่ายนมสด สร้างโรงงานผลิตนมผงขนาดย่อมขึ้นภายในสวนจิตรลดา เพื่อผลิตนมผงจากนมสดที่รับซื้อจากสมาชิกผู้เลี้ยงโคนม เป็นการแก้ปัญหานมสดล้นตลาดส่วนหนึ่ง
         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงงาน เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2512 และพระราชทานชื่อว่า "โรงนมผงสวนดุสิต                                                                               ขอบคุณข้อมูลจาก"http://www.scc.ac.th/student_web/2_47/project008/milk_3.html

โรงสีข้าวตัวอย่าง

                                                        ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรงสีข้าวตัวอย่างสวนจิตรลดา
                         ขอบคุณรูปภาพจาก https://web.ku.ac.th/nk40/nk/data/29/np6.jpg
                โรงสีข้าวตัวอย่างสวนจิตรลดา ได้เปิดกิจการ และเริ่มสีข้าว ตั้งแต่วันที่  พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๔ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยถึงฐานะความเป็นอยู่ของชาวนา โดยเฉพาะรายได้จากการขายข้าวที่ขาดหายไป เนื่องจากการขายข้าวให้พ่อค้าคนกลาง แล้วนำ เงินมาซื้อข้าวบริโภคในราคาแพง จึงมีพระราชดำริว่าสมควรที่จะแก้ไข โดยให้ชาวนา ร่วมกันเป็นกลุ่มดำเนินงานในแบบ สหกรณ์โดยยึดหลัก สีข้าวเอง เก็บไว้บริโภคเอง ส่วนข้าวเปลือกที่เหลือจากการสี ก็สามารถขายได้
                 ขอบคุณข้อมูลจาก      https://web.ku.ac.th/nk40/nk/data/28/index.html

การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลานิล

      

                                ขอบคุณรูปภาพจากhttps://web.ku.ac.th/king72/2542-04/kf4.jpg
        เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศมกุฏราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้น้อมเกล้าฯ ถวายปลาน้ำจืดในตระกูลทิลาเปีย (tilapia) จำนวน 50 ตัว แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในระยะแรกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำปลาดังกล่าวไปเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ บริเวณพระตำหนักสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ต่อจากนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายปลาลงเลี้ยงในบ่อดิน และต่อมาในเวลาประมาณ 5 เดือนเศษ ปรากฏว่าในบ่อที่เลี้ยงมีลูกปลาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดบ่อดินเพิ่มขึ้นเป็น 6 บ่อ เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2508 ได้ทรงปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่กรมประมงทำการตรวจสอบการเจริญเติบโตของปลาทุกเดือน ซึ่งผลการตรวจสอบพบว่า ปลาชนิดนี้เจริญเติบโตได้รวดเร็วมาก มีขนาดเฉลี่ยถึง 178.8 กรัม ในระยะเวลา 6 เดือน     ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2509 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานลูกปลาดังกล่าว ขนาดความยาว 3–5 เซนติเมตร จำนวน 10,000 ตัว จากบ่อดินในบริเวณพระตำหนักสวนจิตรลดา แก่กรมประมงเพื่อนำไปขยายพันธุ์ ณ แผนกทดลองและเพาะเลี้ยงในบริเวณเกษตรกลางบางเขน จังหวัดพระนครและสถานีประมงต่างๆ 15 แห่ง ทั่วราชอาณาจักร เพื่อให้ดำเนินการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์พร้อมกัน และได้พระราชทานชื่อปลาชนิดนี้ว่า “ปลานิล”
          ขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.fisheries.go.th/genetic/index.php/2013-11-15-01-35-24/85-2013-11-25-08-28-46/101-2014-02-06-01-52-39

วัตถุประสงค์ของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา



ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.sciphotha.com/wp/wp-content/uploads/2016/12/1.jpg
ครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ
  1. เป็นโครงการทดลอง โดยเก็บข้อมูลไว้เพื่อศึกษาและเพื่อผู้ที่สนใจขอข้อมูลมาเพื่อศึกษา ถ้าต้องการจะทำตามหรือคิดว่าโครงการนี้ดีเป็นตัวอย่าง ก็ขอข้อมูลไปเพื่อพิจารณา และเริ่มกิจกรรมของหน่วยงานนั้น
  2. เป็นโครงการตัวอย่าง
  3. เป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร หมายถึง โครงการใดก็ตามที่จัดทำขึ้นนั้น ถ้าหากว่าขาดทุนก็ยังทำต่อไป แต่จะพิจารณาหาโครงการอื่นซึ่งสามารถที่จะทำกำไร นำมาสนับสนุนโครงการที่ขาดทุน เพราะฉะนั้นต้องไม่ท้อถอยต่อการที่จะทำแล้วขาดทุนต่อไป                                                                                                                                        ขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.hongthongrice.com/life/5453/kanchanapisek/

ความเป็นมาของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรดา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สวนจิตรลดา
ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.chaoprayanews.com/wp-content/uploads/2011/12/untitled.bmp
                 ความเป็นมาของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรดา  จากการที่สมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมพสกนิกรในพื้นที่ต่างด้วยมีพระราชประสงค์ที่จะเห็นประชาชนอยู่ดีมีสุขตามสมควรแก่อัตภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม ถือว่าเป็นอาชีพหลักของประเทศ จึงทำให้เกิด “โครงการส่วนพระองค์เกี่ยวกับการเกษตร สวนจิตรลดา” ภายในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน อันเป็นราชฐานที่ประทับในปีพุทธศักร2504 โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน เพื่อศึกษา ทดลองและวิจัยหาวิธีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับงานทางด้านการเกษตรต่างๆ เช่นการปลูกข้าว การเลี้ยงโคนม การเพาะพันธุ์ปลานิล และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งผลการศึกษาสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแบบอย่างในการนำไปปฏิบัติตามนอกจากนี้ยังเป็นการดำเนินการโดยไม่มุ่งหวังผลตอบแทน
                  ขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.hongthongrice.com/life/5453/kanchanapisek/

ประโยชน์ของศาสตร์พระราชาเรื่อง โครงการสวนจิตรลดา

กลุ่มของข้าพเจ้าได้ศึกษาในศาสตร์พระราชาในเรื่อง โครงการสวนจิตรลดา ได้รับประโยชน์ดังนี้ 1.เราสามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได...